6 วิธีบริหารเงินสำหรับคนทำงานอิสระ (freelance)

6 วิธีบริหารเงินสำหรับคนทำงานอิสระ (freelance) ในปัจจุบันนี้หลายคนหันมาทำงานเป็นฟรีแลนซ์มากขึ้น เพราะต้องการความเป็นอิสระและจัดการเวลาการทำงานของตัวเองได้ตามใจชอบ แต่การทำงานเป็นฟรีแลนซ์ เราอาจจะประสบกับช่วงเวลาที่มีงานหรือไม่มีงาน รวมถึงช่วงเวลาไม่คาดฝันที่เกิดขึ้น เช่น ลูกค้าจ่ายเงินช้า ดังนั้นเราควรมีความสามารถในการจัดการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มั่นใจว่าเราจะมีเงินใช้จ่ายได้อย่างสบายใจ มนุษย์เงินเดือน วางแผนยังไงให้มีเงินเก็บ

6 วิธีบริหารการเงินที่คุณควรทำตาม

6 วิธีบริหารเงินสำหรับคนทำงานอิสระ (freelance) “ฟรีแลนซ์” อาชีพที่ดูเหมือนมีอิสระจะทำงานที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ ขอแค่งานเสร็จทันตามกำหนดเป็นพอแล้ว แต่ความอิสระของอาชีพฟรีแลนซ์นั้น ก็ต้องแลกมาด้วยความเสี่ยงหลายอย่างเหมือนกัน ดังนั้นใครที่คิดจะจริงจังกับอาชีพนี้ จำเป็นต้องมีการบริหารชีวิตและบริหารการเงินให้ดีด้วย วันนี้เราจึงมาแนะนวิธีที่จะช่วยให้คุณประหยัดเงินมากขึ้นไปดูกันว่าจะมีอะไรบ้าง?

6 วิธีบริหารเงินสำหรับคนทำงานอิสระ (freelance)

1.วางแผนการใช้จ่ายให้ชัดเจน

ฟรีแลนซ์มักมีรายได้ไม่คงที่ในแต่ละเดือน บางเดือนมีงานมากก็ได้มาก เดือนไหนงานน้อยเงินก็น้อยตาม เพราะฉะนั้น การรู้จักวางแผนชีวิตรายจ่ายที่จำเป็นแต่ละเดือนจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ว่าเราต้องจ่ายค่าอาหาร ค่าน้ำ-ค่าไฟ ค่าเช่าบ้าน ค่าผ่อนรถ ฯลฯ มากน้อยแค่ไหน เพื่อจะได้จัดสรรเงินที่ต้องใช้ต่อเดือนได้อย่างถูกต้อง และช่วยให้เราคุมค่าใช้จ่ายไม่ให้เผลอใช้เงินมากจนเกินไป

2.ให้แอพพลิเคชั่นต่างๆ เป็นตัวช่วย

การเป็นฟรีแลนซ์ไม่ใช่แค่การทำงานที่คุณถูกจ้างให้ทำเท่านั้น มันไม่ต่างอะไรมากนักจากการทำธุรกิจโดยมีตัวเองเป็นสินค้าและบริการ คุณจึงต้องจัดการตัวเองให้ดี เพื่อจะได้ติดตามความคืบหน้าของงานต่างๆ ที่ต้องทำ ออกใบแจ้งรายงานให้ลูกค้า และบันทึกรายรับของตนได้อย่างเป็นระบบระเบียบ นอกจากนี้ คุณยังต้องสามารถประเมินรายจ่ายการทำงานของตัวเองได้ด้วย อาจเป็นเรื่องค่าใช้จ่ายในการขอใบอนุญาตพิเศษ ประกันชีวิต วัสดุอุปกรณ์ หรือพื้นที่ในการทำงาน จดบันทึกทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นกำหนดการจ่ายบิล และบัญชีรายจ่ายทั้งหมดที่ถูกใช้ไปในการทำงาน ฯลฯ

3.ออมเงินเพื่ออนาคต

อีกสิ่งที่ฟรีแลนซ์เสียเปรียบพนักงานประจำ และข้าราชการ คือไม่มีหลักประกันในอนาคตอย่างประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เพื่อเป็นเงินออมยามเกษียณ ดังนั้น ฟรีแลนซ์ควรสร้างหลักประกันในชีวิตยามเกษียณให้ตัวเอง เช่น การนำเงินไปลงทุนในกองทุนรวม, ทำประกันชีวิตแบบบำนาญ หรือสมัครสมาชิกเพื่อออมเงินกับกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) จะได้รับเงินสมทบจากรัฐบาล 50-100% ฟรี ซึ่งรับรองได้ว่าให้ผู้ประกอบอาชีพอิสระหรืออยู่นอกระบบ จะมีบำนาญใช้ในยามเกษียณเช่นเดียวกับพนักงานประจำและข้าราชการแน่นอน

6 วิธีบริหารการเงินที่คุณควรทำตาม

4.ไม่ละเลยการจ่ายภาษี

อย่าละเลยเรื่องภาษีเด็ดขาด แม้ว่าคุณจะไม่ได้มีรายได้ประจำ แต่ในฐานะฟรีแลนซ์ คุณคือนายจ้างของตัวเอง คุณจึงต้องไม่ลืมยื่นภาษีเงินได้ประจำปีและจ่ายภาษีให้ตรงตามกำหนดด้วย ซึ่งนี่รวมไปถึงภาษีเงินได้ในฐานะคนทำงานอิสระในส่วนของหลักประกันสังคมและสุขภาพ ซึ่งเป็นส่วนที่พนักงานจ้างประจำส่วนใหญ่ไม่ต้องจ่ายเองทั้งหมด ในขณะที่ฟรีแลนซ์จะต้องช่วยเหลือตัวเองในส่วนนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการโดนปรับย้อนหลังจากกรมสรรพากร

5.แบ่งเงินบางส่วนเพื่อการลงทุน

การที่มีรายได้ไม่แน่นอน ทำให้ชาวฟรีแลนซ์ต้องหาวิธีสร้างผลตอบแทนให้เงินเก็บของเรามากขึ้นด้วย โดยอาจแบ่งเงินบางส่วนที่ได้มาไปลงทุน เพื่อให้เงินก้อนนั้นงอกเงยกลับมาเป็นผลตอบแทนในอนาคต ดีกว่าเก็บเงินไว้เฉย ๆ โดยไม่ได้ทำอะไร ทั้งนี้ อาจจะกันเงินไว้ลงทุนอย่างน้อย 10% ของรายได้ ส่วนรูปแบบการลงทุนนั้น ก็ขึ้นกับว่าแต่ละคนยอมรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน

6.มีบัญชีฉุกเฉิน

เหตุการณ์ไม่คาดฝันอย่างเช่น อุบัติเหตุ เจ็บป่วย รถเสีย หรือไม่มีงานเข้ามาเลย มีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอ ดังนั้น จึงควรสำรองเงินฉุกเฉินไว้เผื่อกรณีนี้ด้วย แนะนำว่าอย่างน้อย ๆ ต้องมีประมาณ 6 เท่าของค่าใช้จ่ายรายเดือน เช่น ถ้าปกติมีค่าใช้จ่ายรายเดือนประมาณ 20,000 บาท ก็ควรมีเงินในบัญชีฉุกเฉินสำรองไว้ อย่างน้อย 120,000 บาท เพราะอย่าลืมว่ามนุษย์ฟรีแลนซ์ไม่ได้มีสวัสดิการต่าง ๆ มาช่วยเหลือเหมือนมนุษย์เงินเดือน

สรุปวิธีบริหารเงินสำหรับคนทำงานอิสระ

อย่าลืมเด็ดขาดว่า งานของฟรีแลนซ์มีความไม่แน่นอนสูงมาก และ มีข้อจำกัดของการทำงานด้วย ทำงานบนพื้นฐานของพละกำลังทั้งหมดของตัวเอง เพราะฉะนั้นหากเกิดเหตุไม่คาดคิด หรือ เจ็บป่วยทำงานไม่ได้อาจจะเป็นเหตุให้การเงินสะดุดได้ การบริหารเงินของฟรีแลนซ์จึงเป็นสิ่งสำคัญ