มนุษย์เงินเดือน วางแผนยังไงให้มีเงินเก็บ มนุษย์เงินเดือนหลายคน คงกำลังประสบปัญหาในการใช้เงิน เดือนชนเดือนตลอดเวลา อย่าถามหาเงินเก็บให้ช้ำใจ แค่ใช้พอในแต่ละเดือนก็เต็มกลืน บางเดือนยังไม่ทันจะถึงสิ้นเดือนเลย เงินก็บินหนีไปก่อนแล้ว เรียกได้ว่าชักหน้าไม่ถึงหลังเป็นประจำ
อยากมีเงินเก็บกับเขาบ้าง แต่ก็ทำไม่เคยได้ ได้แต่คิดวนไปเวียนมาเป็นร้อยตลบ ไม่เป็นไรค่ะวันนี้เรามี 7 เคล็ดลับที่ มนุษย์เงินเดือน วางแผนยังไงให้มีเงินเก็บ ตอนสิ้นเดือนมาฝาก ขอเพียงแค่คุณมีใจสู้ และมุ่งมั่นที่จะทำ แค่นี้ก็สำเร็จไปครึ่งทางแล้ว
1. แบ่งเงินเป็นส่วน ๆ ตั้งแต่ต้นเดือน
สาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้คุณไม่มีเงินเก็บ อาจมาจากการที่ เมื่อได้รับเงินเดือนมาแล้ว ไม่มีการวางแผน หรือจัดเงิน สำหรับค่าใช้จ่าย ให้เป็นสัดส่วน พอรู้ตัวอีกทีก็ใช้เพลิน จนเงินเกลี้ยงกระเป๋า เอาใหม่นะคะ พอได้เงินเดือนมาต้องแยกค่าใช้จ่ายประจำ แต่ละเดือนไปเลย เช่น ค่าหอ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าซื้อของใช้ส่วนตัว ค่าเดินทาง ค่ากิน ฯลฯ เราจะได้สามารถคำนวณได้ว่า แต่ละเดือนเราเหลือเท่าไร จะได้วางแผนในการออมเงินถูก หรือถ้าไม่เหลือ ก็จะได้จัดสรรเงินใหม่ให้ลงตัวกว่าเดิม
2. ห่อข้าวไปกินที่ทำงาน
ใครที่กำลังอยากประหยัด ค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน ลองห่อข้าวไปกินที่ทำงานดู รับรองมีเงินเก็บ เพิ่มแน่นอน อาจจะเสียเวลาหน่อย แต่แสนจะคุ้มค่า ไม่เพียงประหยัดเท่านั้น อาหารยังรสชาติถูกปาก สามารถครีเอทเมนูได้ หลากหลายตามใจชอบ ซ้ำยังถูกสะอาด ถูกหลักอนามัย ไม่ต้องฝ่าแดดเดินไปรอคิวแถวที่ทำงาน ยิ่งถ้าใครกำลังควบคุมอาหารแล้วล่ะก็ การห่อข้าวไปกินเอง เป็นตัวเลือกที่เยี่ยมสุด ๆ ไปเลย
3. เปลี่ยนจากนั่งรถมาเป็นเดิน
ถ้าระยะทางใกล้ ๆ เช่น จากที่ทำงานออกมาป้ายรถเมล์ หรือลงจากรถแล้ว เข้าซอยบ้าน จากที่เคยนั่งพี่วินมอเตอร์ไซค์เป็นประจำ ลองเปลี่ยนมาเป็นเดินเรื่อย ๆ ดูบรรยากาศ 2 ข้างทาง ถือโอกาสสำรวจเส้นทาง ร้านอาหารอร่อย ๆ ไปในตัว ประหยัดเงินค่าพี่วิน แถมยังได้ออกกำลังกายอีกต่างหาก
4. ตัดใจไม่ช้อป
พอเงินเดือนออก หัวใจก็ฟูฟ่อง เจอของถูกใจไอเทมออกใหม่ เป็นไม่ได้เหมือนโดนดูดวิญญาณ บางทีกลับถึงบ้านยัง นี่ฉันซื้ออะไรมา แล้วพอสิ้นเดือนก็ร้องไห้วนไป เรามาเริ่มตั้งสติก่อน สตาร์ทกันใหม่นะคะ บอกตัวเองให้ตัดใจ เสื้อผ้าในตู้บางตัว ซื้อมายังไม่ได้ใส่ เครื่องสำอางซื้อจนไม่มีที่วาง ของอะไรที่ไม่จำเป็น เราก็ยังไม่ต้องซื้อ ลองตั้งเป้าหมายเพื่อเป็นแรงจูงใจ เช่น สิ้นปีฉันค่อยซื้อของขวัญชิ้นใหญ่ให้ตัวเอง หรือถ้าใครอดใจไม่ได้จริง ๆ อาจจะลดจากซื้อทุกเดือน เดือนละหลายชิ้น มาเป็นเดือนละชิ้นแล้วค่อย ๆ ลดลงมาเรื่อย ๆ หัวใจคุณก็จะเริ่มสตรอง ไม่หวั่นแม้ต้องเดินผ่านร้าน
5. มองหาของลดราคา
จดรายการของที่จำเป็น ต้องซื้อจำพวกสบู่ ยาสระผม ยาสีฟัน และของใช้ส่วนตัวเอาไว้ เวลาจะซื้อสินค้า ลองเดินสำรวจราคาในตลาดเปรียบเทียบคุณภาพ ปริมาณ และราคาก่อนตัดสินใจ ยิ่งเดี๋ยวนี้ร้านค้าแข่งกัน จัดโปรโมชั่นกระหน่ำลดราคา เรียกลูกค้ากันทุกร้าน คุณจึงไม่จำเป็นต้องจ่ายราคาเต็ม ส่วนลดเล็กน้อยเหล่านั้น พอมารวมกันคุณก็จะมีเงินเก็บเพิ่มอีกโข ทริก แนะนำ คือ ให้ไลค์เฟซบุ๊กเพจ หรือโหลดแอปฯ ของห้างร้านมาไว้ คุณจะได้ไม่พลาดสินค้าราคาสบายกระเป๋า
6. เลิกนิสัยกินจุกจิก
เคยคำนวณเงินไหมคะ ว่าเราสูญเสียกันไปเท่าไร กับขนมจุกจิกที่กินในแต่ละวัน ไหนจะขนมขบเคี้ยว เค้ก ชา กาแฟ น้ำอัดลม ลูกชิ้นปิ้ง เผลอ ๆ จะมากกว่าค่าข้าวด้วยซ้ำไป ถ้าเลิกตรงนี้ได้ คุณก็จะมีเงินเก็บเพิ่มขึ้น และยังสุขภาพดี ไม่อ้วนอีกต่างหาก ถ้าคุณหิวระหว่างวัน อาจจะเลือกทานผลไม้แทน หรือรับของว่างเป็นเวลาไปเลย ไม่ซื้อจุกจิกทั้งวัน เพราะจะทำให้คุณเสียเงินไปมาก โดยไม่รู้ตัว
7. ยกเลิกบัตรสมาชิก
ลองสำรวจตัวเองกันดู ถ้าคุณมีบัตรสมาชิก ที่ต้องเสียเงินต่ออายุรายเดือนหรือรายปี เช่น ฟิตเนส คลับต่าง ๆ เป็นต้น แต่คุณไม่มีเวลาไปใช้บริการ หรือไปใช้มากสุด แค่เดือนละครั้ง แนะนำให้ไปยกเลิกดีกว่าค่ะ เอาเงินตรงนั้น มาเป็นเงินเก็บดีกว่าปล่อยให้เสียไปฟรี ๆ
จริง ๆ การใช้เงินให้เหลือเก็บในแต่ละเดือน ไม่ใช่เรื่องยาก แต่สิ่งสำคัญ คือ คุณต้องมีใจจะทำ ตั้งเป้าหมาย และพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมของตัวเอง ที่ขาดไม่ได้เลย คือ คุณจะต้องมีวินัยในการเก็บเงิน ทำให้เป็นนิสัย เท่านี้คุณก็จะมีเงินเก็บแล้ว ข้อควรรู้ก่อนที่จะกู้เงิน
อ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติม : ทำความรู้จักกับ “เกมสล็อตออนไลน์” ทางเลือกใหม่สำหรับเกมทำเงิน